อวสานของหลินเปียว 1969-1971 ของ การปฏิวัติทางวัฒนธรรม

ปี 1969 ในที่ประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 1 เมษายน หลิวเปียว ถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในอำนาจสูงสุดต่อจากเหมา ในขณะที่หลิวซ่าวฉีถูกโค่นและโจวเอินไหลถูกลดบทบาทลง ในที่ประชุมสมัชชา หลินเปียวกล่าวสดุดีเหมาด้วยคติพจน์เหมา และสนับสนุนการใช้กองกำลังอาวุธ ประณามหลิวซ่าวฉีเป็นพวกต่อต้านการปฏิวัติ แก้ไขธรรมนูญ(ข้อบังคับ)พรรค ให้ตนเองเป็นผู้สืบทอดอำนาจของเหมาในอนาคต หลังจากนั้น ชื่อของหลิวเปียวกับเหมาเจ๋อตงมักจะปรากฏคู่กันเสมอในที่ต่าง ๆ ในการคัดเลือกผู้นำพรรคในครั้งใหม่ ได้คัดเลือก เหมาเจ๋อตง หลิวเปียว โจวเอินไหล และคังเซิน เป็นสมาชิกถาวรคณะกรรมการกลางพรรค ทั้งสี่คนเป็นการได้รักษาตำแหน่งตนเองด้วยผลพวงของการปฏิวัติวัฒนธรรม

หลังจากได้รับการยืนยันที่จะได้รับเป็นผู้สืบทอดของเหมา หลิวเปียวจึงขอฟื้นฟูตำแหน่งประธานประเทศขึ้นมาใหม่ หลังจากที่เหมาได้ยกเลิกไป โดยหลินเปียวมุ่งหวังที่จะเข้ารับรองประธาน โดยมีเหมาเจ๋อตงเป็นประธาน

วันที่ 23 สิงหาคม 1970 การประชุมเต็มคณะครั้งที่สองของสมัชชาพรรคครั้งที่ 9 ได้จัดขึ้นที่หลูซานอีกครั้งหนึ่ง เฉินป๋อต๋า เป็นคนแรกที่ขึ้นกล่าวในที่ประชุม เขาได้กล่าวยกย่องสดุดีเหมาเสียเลิศเลอและตามด้วยการขอฟื้นตำแหน่งประธานประเทศขึ้นมาใหม่ เหมารู้ถึงเบื้องลึกของเฉิน จากนั้นไม่นานเฉินก็ถูกปลดออกจากคณะกรรมการกลางของพรรค และเรื่องนี้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทั่วประเทศ ทำให้ เฉินป๋อต๋า กลายเป็นพวกตัวแทนของหลิวส้าวฉี ซึ่งเป็นมาร์กซิสจอมปลอมและพวกปลิ้นปล้อนหลอกลวงทางการเมือง

การปลดเฉินออกถือเป็นสัญญาณเตือนหลินเปียว แต่หลิวเปียวก็ไม่หยุดที่เรียกร้องให้แต่งตั้งตำแหน่งประธานประเทศ ทางรัฐบาลกลางได้ชี้ให้เหมาเห็นถึงความทะเยอทะยานของหลิวเปียวที่จะขจัดเหมาออกจากอำนาจ และ “ศัตรูที่น่ากลัวที่สุด คือ สหายที่อยู่ข้างกาย” เพราะการขอเป็นรองประธานก็เพื่อให้เขามีความชอบธรรมที่จะได้ขึ้นเป็นประธานเมื่อเหมาถึงแก่อสัญกรรมแล้ว

เมื่อแผนการล้มเหลว หลินเปียวจึงคิดจะยึดอำนาจด้วยการใช้กำลัง เนื่องจากอำนาจในพรรคของเขานับว่ายิ่งน้อยลง ๆ หลินเปียวได้ร่วมกับลูกชาย หลินลิกั่ว และคนสนิทใกล้ชิดก่อการในเซี่ยงไฮ้ โดยวางแผนใช้กองทัพอากาศทิ้งระเบิดปูพรม เมื่อยึดอำนาจสำเร็จก็จัดการจับกุมพวกฝ่ายตรงข้ามและเขาก็ก้าวสู่อำนาจสูงสุด ดังที่เขาได้กล่าวในเอกสารชื่อ “อู่ชิยี่กงเฉินจี้ย่าว” ไว้ว่า “การต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจครั้งใหม่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าเราไม่สามารถยึดอำนาจการนำปฏิวัติสำเร็จ อำนาจก็จะตกไปอยู่ในมือของคนอื่น”

เมื่อการยึดอำนาจไม่สำเร็จ ข่าวลือเกี่ยวกับการลอบสังหารเหมาเกิดขึ้นมาไม่ขาดระยะ ลือกันตั้งแต่เหมาถูกฆ่าบนขบวนรถไฟในปักกิ่ง การบุกเข้าไปลอบสังหารถึงที่พัก โดยคนใกล้ชิดของหลินเปียว หลังวันที่ 11 กันยายน หลินเปียวก็ไม่เคยปรากฏให้เห็นในที่สาธารณะอีก ในขณะที่ผู้ใกล้ชิดของหลินเปียวที่หนีไปทางฮ่องกงถูกจับกุมทั้งหมด ภายในวันที่ 13 หลินเปียวขึ้นเครื่องบินเตรียมหนีไปสหภาพโซเวียต แต่เครื่องบินไปตกในมองโกเลียใน ไม่มีผู้ใดรอดชีวิต ในวันเดียวกันทางปักกิ่งเรียกประชุมด่วนเกี่ยวกับเรื่องของหลินเปียว ถึงวันที่ 14 กันยายน ข่าวหลินเปียวเสียชีวิตจากเครื่องบินตกจึงทราบถึงรัฐบาลที่ปักกิ่ง ในวันที่ 1 ตุลาคม 1971 ทางการจีนประกาศงดจัดฉลองวันชาติที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เพราะเกรงว่ากองทัพที่ภักดีต่อ หลินเปียว จะก่อการยึดอำนาจ เนื่องจากจะมีการขนอาวุธสงครามเข้ามาฉลองในปักกิ่ง และสืบสวนสอบสวนขบวนการยึดอำนาจด้วยการใช้กำลังของหลินเปียว

ใกล้เคียง